25 กันยายน 2567
1. อย่าผูกล่ามและขังสัตว์เลี้ยงในพื้นที่น้ำท่วม
- เมื่อน้ำท่วมสูงสัตว์เลี้ยงอาจจมน้ำได้ถ้าถูกผูกล่ามหรือขัง
- เตรียมเสื้อชูชีพให้กับสัตว์เลี้ยงที่ว่ายน้ำไม่เป็น
- หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วมสูงอย่างรวดเร็ว สัตว์เลี้ยงจะมีโอกาสหนีไปยังที่ปลอดภัย
2. ให้สัตว์เลี้ยงอยู่บนพื้นที่แห้งและปลอดภัย
- ควรอยู่ในห้องชั้นสองหรือที่สูงจากระดับน้ำ
- ควรให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้านเพื่อป้องกันอันตรายจากภายนอก เช่น เชื้อโรค แบคทีเรีย เศษซากที่พัดพามากับน้ำ หรือสัตว์อื่น
- หากจำเป็นต้องพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้านให้เลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมสูง ควรใช้กรงและสายจูงเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงพลัดหลง
3. เตรียมแผนการอพยพและเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยง
- ศึกษาข้อมูลศูนย์อพยพของสัตว์เลี้ยงไว้ล่วงหน้า
- เตรียมกรงและสายจูงสำหรับการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยง
- ควรระบุข้อมูลของสัตว์เลี้ยง เช่น ปลอกคอที่มีป้ายชื่อและข้อมูลติดต่อเจ้าของ
- เตรียมเอกสารของสัตว์เลี้ยง เช่น รูปถ่าย เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ ประวัติการรักษา ประวัติการฉีดวัคซีน
4. เตรียมอาหาร น้ำสะอาด และยาให้เพียงพอ
- สำรองอาหาร น้ำสะอาด และยาในภาชนะที่กันน้ำ
- สำรองในปริมาณเพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมกรณีน้ำท่วมต่อเนื่อง
5. หมั่นสังเกตพฤติกรรมและอาการของสัตว์เลี้ยง
- สังเกตสัตว์เลี้ยงหากมีอาการหรือพฤติกรรมผิดปกติ เช่น กินอาหารน้อยลง การเห่าหรือหอนมากเกินไป
- หากพบพฤติกรรมผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
6. เฝ้าระวังอันตรายและสภาพแวดล้อมหลังน้ำท่วม
- หลังน้ำท่วมควรตรวจสอบบ้านและบริเวณโดยรอบเพราะอาจมีสิ่งอันตราย เช่น วัตถุมีคม สัตว์มีพิษ หรือสารพิษที่อาจพัดพามากับน้ำ
- ควรให้สัตว์เลี้ยงห่างไกลจากพื้นที่และแหล่งน้ำที่อาจปนเปื้อนจนกว่าจะได้รับการตรวจสอบความปลอดภัย
ข่าวเพิ่มเติม
19 มิถุนายน 2567
แม้ว่าตอนนี้มูลนิธิดับเบิลยู วี เอส ไทยแลนด์ จะอยู่ระหว่างการปรับปรุง…
18 พฤษภาคม 2567
ถึงเหล่าวีรบุรุษผู้อยู่เบื้องหลังของเราไม่ว่าจะเป็นพยาบาลสัตวแพทย์ ช่างเทคนิค…
31 มีนาคม 2567
ทีมสัตวแพทย์เคลื่อนที่ป้องกันโรคของมูลนิธิดับเบิลยู วีเอส ประเทศไทย…